วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันพุธที่16กุมภาพันธ์2554ครั้งที่14

วันนี้มีกิจกรรมคือการฟังเพลง เกาะสมุย แล้วตอบคำถามว่า เพลงนี้ต้องการบอกอะไร
และการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

วันพุธที่9กุมภาพันธ์2554ครั้งที่13

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากวันนี้อาจารย์สรุปกิจกรรมศิลปะที่นำไปสอนเด็ก

วันพุธที่2กุมภาพันธ์2554ครั้งที่12

การจัดประสบการณ์ภาษาธรรมชาติ
ความรู้ของเด็ก เกิดจากการถ่ายทอดทางสังคมและเกิดจากปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
ภาษา ถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นภาษาสัณลักษณ์และฝึกใช้ภาพแทนคำ

ขั้นของพัฒนาการในการอ่าน ขั้นแรก คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมาย
ขั้นที่สอง เรียกชื่อได้หรืออ่านได้ถูกต้อง
ขั้นที่สาม แยกแยะตัวอักษร
ขั้นสุดท้าย ระบบของตัวอักษร

การรับรู้และพัฒนาการเขียน ระยะแรก เด็กเริ่มแยกแยะความแตกต่าง
ระยะที่สอง เขียนตัวอักษรที่ต่างจากคำพูด
ระยะที่สาม เด็กเริ่มออกเสียงในขณะเรียน

การเชื่อมโยงภาษาพูดและเขียน เมื่อพูดคุย
สนทนาโต้ตอบกัน
การอ่านหนังสือประเภทต่างๆ

การจัดสภาพแวดล้อม จัดให้สอดคล้องกับเนื้อหา
สร้างความพร้อมในการเรียน

วันพุธที่26มกราคม2554ครั้งที่11

วันนี้อาจารย์สอน ร้องเพลงของเด็ก คือ
เพลง แปรงฟัน
สวัสดี
ชื่อของเธอ
แมงมุมลายตัวนั้น
บ้านของฉัน
อย่าทิ้ง
ตาและหู
กระต่ายขาว
hallo
น่ารักจัง

จากนั้นทำกิจกรรม วาดภาพแล้วต่อเติมคำ กิจกรรม บาน-หุบ การอ่านนิทาน
และการเรียนเรื่องภาษาธรรมชาติ

วันพุธที่19มกราคม2554ครั้งที่10

วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมของภาษามาให้นักศึกษาได้ทำ
1.คำคล้องจอง โดยพูดคำของตนเองแล้วให้เพื่อนพูดต่อเป็นคำที่คล้องจองกัน
2.นึกถึงอะไรแล้วมีความสุข คือสิ่งที่นึกถึงแล้วทำให้เรามีความสุข
3.โครงสร้างครอบครัว วาดรูปสมาชิกในครอบครัวของเรา แล้วเขียนชื่อ
4.เขียนแล้วเล่าเรื่องต่อกัน ให้แต่ละคนวาดรูปคนละ1รูป แล้วมายืนเรียงกันเป็นแถว จากนั้นให้คนที่1เล่ารูปของตนเองต่อกันไปเรื่อย ๆ จนจบ 5.เกมกระซิบ ให้เพื่อนไปดูประโยคแล้วมากระซิบบอกเพื่อนคนต่อไป และถามเพื่อนว่าคนสุดท้ายว่าประโยคนั้นคืออะไร
6.วาดไปเล่าไป โดยอาจารยืเล่าเรื่องให้หังก่อน พร้อมกับวาดรูปไปด้วย เมื่อเล่าจบรูปที่วาดเสร็จก็กลายเป็น
เต่าทอง

เมื่อทำกิจกรรมเสร็จ ให้นักศึกษาเขียน สะท้อนว่าเด็กได้อะไรจากสิ่งที่อาจารย์สอนทั้งหมด 6 อย่าง

พร้อมสั่งงาน โดยให้สระ -า และหาคำที่ขึ้นต้นด้วย สระ-า





วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันพุที่12มกราคม2554ครั้งที่9

อาจารย์ให้แบ่งนักศึกษาเป็น2-3คน เพื่อออกมาทำปริศนาคำทายเป็นสำนวนสุภาษิตและเพื่อนทายว่ามันคือสำนวนอะไร
กลุ่มดิฉันออกมาแสดง สำนวน กระต่ายตื่นตูม

พร้อมกับสั่งงาน ในหัวข้อ

ประกาศ
โฆษณา
ประชาสัมพันธ์
เล่าเรื่องจากภาพ
เล่าประสบการณ์
ของรักของหวง

ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีหัวข้ออยู่แล้ว โดยให้เขียนว่าเมื่อเด็กพูดแล้ว เด็กได้อะไร ในหลักของภาษา
มาส่งในคาบหน้า

วันพุธที่5มกราคม2554ครั้งที่8

เนื่องจากวันนี้เป็นวันที่คณะศึกษาศาสตร์มีการจัดงานปีใหม่ให้กับท่านคณะอาจารย์ ดิฉันเป็นตัวแทนของการศึกษาปฐมวัย ทำการแสดงให้กับท่านอาจารย์ของคณะศึกษาศาสตร์ จึงไม่ได้เข้าเรียน


อาจารย์สั่งงานสำหรับวันนี้ โดยถามจากเพื่อน คือ สมุดเล่มเล็ก เป็นสมุดที่ทำได้เองจากกระดาษ เหลือใช้


เป็นนิทานสั้นหรือ ปริศนาคำทาย เป็นต้น


วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันพุธที่15ธันวาคม2553ครั้งที่7

การจัดประสบการณ์ทางภาษาธรรมชาติ
การสอนภาษาโดยองค์รวม

โคมินิอุส- เด็กสามารถค้นพบข้อมูลใหม่ๆได้ด้วยการนำเสนอที่เด็กคุ้นเคยในชีวิตอยู่แล้ว เด็กจะเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้โดยการใช้ภาษาถิ่น

กู๊ดแมนสมิธ-ความรู้จะเกิดอย่างพรั่งพรูจากกระบวนการเรียนรู้และมีการพัฒนาภาษาพูด ภาษาเขียน ครูจะเห็นได้ชัดจากการที่เด็ก ๆ นั้นอาศัยภาษาเป็นสื่อในการแก้ปัญหาต่างๆอย่างมีความหมาย

จูดิท นิวแมน - การสอนภาษาโดยแนวคิดองค์รวมมีลักษณะเป็นปรัชญา(philosophical stance)ความคิดของผู้สอน โดยก่อขึ้นจากหลักการสอนโดยผู้สอนนำมาบูรณาการ

นักทฤษฎีเรื่องภาษาธรรมชาติ
จอห์น ดิวอี้ การเรียนรู้ภาษาของเด็กเกิดจากประสบการณ์ตรงโดยการลงมือทำด้วยตนเอง
(learning by doing) ทฤษฎีที่เป็นกุญแจสำคัญของการสะท้อนความคิดต่อการสอนของครู
ผู้เรียนต้องเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ ครูผู้สอนควรบูรณาการด้านภาษาให้กลมกลืนไปกับการเรียนรู้

วันพุธที่8ธันวาคม2553ครั้งที่6

7 ขั้นตอนพัฒนาการทางภาษาของเด็ก
1.ระยะเปะปะ แรกเกิด - 6 เดือนเด็กจะเปล่งเสียงออกมาไม่มีความหมาย เพื่อต้องการให้ผู้ใหญ่รับรู้ 6 เดือน เสียงของเด็กจะเริ่มชัดเจน
2.ระยะแยกแยะ 6เดือน-1ปี เด็กเริ่มแยกแยะเสียงที่เขาได้ยิน เด็กจะแสดงออกของการหยุดฟัง และแสดงออกถึงอาการจดจำเสียงได้
3.ระยะเลียนแบบ1-2ปี เสียงที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเสียงของคนใกล้ชิด เด้กจะเริ่มสนใจและเรียนแบบเสียงที่เปล่งขึ้น
4. ระยะขยาย 2-4 ปี เด็กจะเริ่มเปล่งเสียงออกมาเป็นคำๆระยะแรกจะเป็นการพูดออกชื่อคนที่อยู่รอบข้าง สิ่งต่างๆที่อยู่ใกล้ตัว
5.ระยะโครงสร้างอายุ4-5 การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัยนี้ดีขึ้นมาก ทำให้เด็กได้สังเกตการใช้ภาษาของบุคคลที่อยู่รอบข้าง เช่นจากการฟังนิทาน
6.ระยะตอบสนอง อายุ 5-6ปี การพัฒนาทางภาษาของเด็กวัยนี้เริ่มสูงขี้น เด็กจะเข้าโรงเรียน เด็กได้พัฒนาคำศัพท์มากขึ้น ภาษาของเด็กจะใช้สำหรับการสื่อสารให้ความหมาย เพื่อแสดงให้ผู้รับรู้ถึงสิ่งที่เขาต้องการ
7.ระยะสร้างสรรค์ อายุ6ขึ้นไป จดจำสัญลักษณ์ได้มากขึ้น ใช้ถ้อยคำที่เป็นสำนวน เด็กจะพัฒนาวิเคราะห์และสร้างสรรค์ทักษะทางภาษาได้สูงขึ้น

วันพุธที่1ธันวาคม2553ครั้งที่5

วันนี้เป็นวันแรกของการเปลี่ยนแปลงวันที่เรียนจากวันศุกร์เป็นวันพุธ วันนี้เรียนเรื่อง
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจาก พ่อ แม่ คนรอบข้างและการมีโอกาศใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 มีการยกตัวอย่าง การเขียนของเด็กที่ไม่เป็นทางการ โดยที่ใช้คอมพิวเตอร์เขียน รูปภาพการใช้ภาในลักษณะต่างๆ ภาษาเกิดขึ้นได้ทุกสถานการณ์ ภาษาที่ไม่นิยมใช้คือ คำหยาบ มนุษย์ใช้การสื่อสารระหว่างกัน วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือการใช้ภาษาพูด เขียน จะช่วยให้เด็กเข้าใจ แสดงออกถึงความต้องการส่งและรับข่าวสาร
จุดมุ่งหมายของการสอนภาษา คือ
1.การใช้ภาษาเน้นที่การสื่อสาร
2.การฟังและประสบการณ์อ่าน เน้นเข้าใจความหมาย
3.การพูดและประสบการณ์เขียน

วันศุกร์ที่26พฤศจิกายน2553ครั้งที่4

วันนี้อาจารย์ให้นำคำทายปริศนา ฉันตั้งชื่อมันว่า เตาะ แตะ เตาะ แตะเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เตาะ แตะคืออะไร ลงบล๊อคพร้อมไปใส่ภาพมาให้เรียบร้อย จากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 5 คนแล้วเลือก 1 เรื่องของสมาชิกในกลุ่ม เพื่อที่จะทำหนังสือเล่มใหญ่ คือ Big book อาจารย์จะนำกระดาษมาให้นักศึกษาเอง อาจารย์ได้อธิบายการทำ big book แล้วอาจารย์ตรวจความคืบหน้าของบล๊อคพร้อมให้คำแนะนำ จากนั้นสอนการทำ mind map ด้วยโปรแกรม ซึ่งมีรูปแบบมากมาย อาจารย์ให้นั่งทำไปจนกว่าจะคล่องแคล่ว